วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

9.1 การจัดเตรียมฮาร์ดดิสก์

การเตรียมความพร้อมของฮาร์ดดิสก์นั้น โดยหลักแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. การแบ่งหรือการจัดสรรพาร์ติชั่น
2. การจัดเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างระบบไฟล์หรือการฟอร์แมต
โดยหลักจากการฮาร์ดดิสก์ได้ผ่านขั้นตอนทั้งสองนี้แล้วก็สามารถนำไปติดตั้ง
ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมถึงนำไปจัดเก็บข้อมูลได้ในทันที
พาร์ติชั่น (Partition) คือ เนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์ที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบทั่วเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างระบบ ไฟล์หรือที่เรียกว่าการฟอร์แมตระดับสูงในพื้นที่แต่แต่ละส่วนให้เป็นอิสระ จากกันได้
ประเภทของพาร์ติชั่นที่จะใช้แบ่งมีอยู่ 2 ประเภท
1. Primary Partition เป็นพาร์ติชั่นหลักที่ใช้สำหรับติดตั้งและบู๊ตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ ซึ่งโดยมากมักจะหมายถึงไดรว์ C หรือไดรว์ที่มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการเอาไว้ โดยในฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่งๆจะมีพาร์ติชั่นประเภท Primary ได้สูงสุงเพียงไม่เกิน 3 พาร์ติชั่นเท่านั้น โดยพาร์ติชั่นที่ใช้บู๊ตเข้าระบบปฏิบัติการจะต้องถูกกำหนดให้อยู่ในสถานะ Active
2. Extended Partition เป็นพาร์ติชั่นเสริมหรือส่วนขยายเพิ่มเติมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ข้อจำกัดเดิมๆของพาร์ติชั่นประเภท Primary ที่ในฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่งๆจะสามารถมีได้สูงสุดไม่เกิน 4 พาร์ติชั่น
ข้อดี และข้อเสียของการแบ่งพาร์ติชั่น

ข้อดี
1. ช่วยให้เราสามารถสำรองข้อมูลที่สำคัญเก็บไว้ยังพาร์ติชั่นอื่นได้ เผื่อว่าเวลาระบบ Windows มีปัญหาหนักจนถึงขั้นต้องฟอร์แมตพาร์ติชั่นที่ Windowsไว้แล้วลงใหม่ก็จะได้ไม่มี ผลกระทบใดๆหรือไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลในพาร์ติชั่นอื่นจะสูญหายไป

2. เพื่อความสะดวกและเรียบร้อยในการจัดเก็บหรือแยกแยะประเภทของข้อมูลต่างๆให้เป็นสัดเป็นส่วน
3. เพื่อความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลและจำกัดพื้นความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล และจำกัดพื้นที่ในการใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆเพื่อดูแลรักษาเครื่อง เช่น การใช้โปรแกรม Antivirus ในการสแกนหาไวรัสในแต่ละพาร์ติชั่นที่สงสัยและการจัดเรียงข้อมูล (Defrag) ทีละพาร์ติชั่นเป็นต้น
4. ช่วยให้เราสามารถติดตั้งหลายๆระบบปฏิบัติการในฮาร์ดดิสก์ลูกเดียว

ข้อเสีย
1. หากกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นไว้เล็กเกินไปอาจทำให้มีปัญหาในกานทำงานร่วมกับ ไฟล์งานของโปรแกรมบางตัวที่มีขนาดใหญ่ เช่น ไฟล์วิดี เป็นต้น
2. หากแบ่งพาร์ติชั่นไว้จำนวนมากอาจทำให้สับสนได้ง่าย
3. ผู้ใช้ควรศึกษาให้เข้าใจถึงทฤษฎีและหลักการในเบื้องต้นเสียก่อน จึงจะสามารถลงมือแบ่งพาร์ติชั่นไดอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่น ข้อแนะนำในเรื่องของการกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นที่ใช้ระบบไฟล์แบบ FAT32 ว่าไม่ควรมีขนาดเกินกว่า 32 GB (หรือถ้าจะกำหนดให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ก็สามารถทำได้ แต่ขนาดของคลัสเตอร์ก็จะใหญ่ตามขึ้นไปด้วย ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลนั้นลดลง ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงแนะนำให้ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS แทน) เป็นต้น
วิธีที่ แบ่งและฟอร์แมตพาร์ติชั่นด้วยแผ่นติดตั้ง Window Vista
สำหรับ Window Vista นั้นระบบปฎิบัติการรุ่นล่าสุดที่ถูกพัฒนาต่อมาจาก Window XP ดั้งนั้นความสามารถในด้านของการสนับสนุนการทำบู๊ตหลายระบบจึงมีมาด้วยอยู่ แล้ว และในระหว่างขั้นตอนการติดตั้งก็ยังมีเครื่องมือที่ช่วยจัดเตรียมความพร้อม ของฮาร์ดดิสก์ เช่น การแบ่ง ลบ และ ฟอร์แมตพาร์ติชั่น ซึ่งมีอินเตอร์เฟสที่เป็นภาพกราฟิกสวยงามและใช้งานง่านมาให้ด้วย
การล้างเครื่องด้วยวิธีนี้จะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการจะติดตั้ง Window Vista ลงในเครื่องพร้อมกันไปด้วย หลังจากผ่านขั้นตอนการแบ่งและฟอร์แมตพาร์ติชั่นไปแล้วเพราะใช่เพียงแผ่นติดตั้ง Win Vista เท่านั้นขั้นตอนต่างๆดังนี้
1 เริ่มต้นให้เราบู๊ตเครื่องด้วยแผ่น DVD สำหรับติดตั้ง Window Vista (รอสักครู่) เมื่อปรากฏหน้าต่างดังรูปให้เรากดคีย์ใดๆบนคีย์บอร์ด
2 .ในหน้าต่างแรก ให้เราตั้งภาษา เวลา และคีย์บอร์ด ดังนี้
Language to install: เลือกตั้งภาษาที่จะใช้ใน Window (ไม่มีตัวเลือกภาษาไทย)ในที่นี้เลือก English
Time and currency format : เลือกติดตั้งระบบเวลาและระบบเงินตราของแต่ระประเทศในที่นี้เลือก Thai (Thailand)
Keyboard or input method : เลือกติงตั้งภาษาเพิ่มเติมที่จะใช่ในคีย์บอร์ด ในที่นี้เลือก US (สามารถเข้าไปกำหนดเพิ่มเติมภายหลังได้)
เมื่อตั้งติดต่างๆเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Next เพื่อดำเนินการต่อ
3.คลิกปุ่ม Install now เพื่อเริ่มต้นการติดตั้ง หรือเลือกข้ออื่นๆ คือ
Repair your computer เข้าสู่ตัวเลือกและเครื่องมือต่างๆที่ใช่ซ่อมแซม คืนค่าระบบ และ ตรวจสอบความผิดปกติของหน่วยความจำ เป็นต้น
4.กรอกรหัส Product Key จำนวน 25 หลัก (ดูจากสติกเกอร์ที่ติดมาให้พร้อมกับแผ่นติดตั้ง) เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next เพื่อทำการต่อ
5. ใส่เครื่องหมาย ถูก เพื่อยอมรับข้อตกลงในกานใช่งาน จากนั้นคลิกปุ่ม Next เพื่อดำเนินการต่อ
6. หน้าต่างถัดมาให้เราคลิกเลือกรูปแบบในการติด ตั้ง โดนมีรายระเอียดดังนี้
Upgrade ติดตั้งแบบอัพเกรดหรือปรับปรุงจากระบบปฏิบัติการ Window XP เดิมที่ใช่งานอยู่มาเป็น Window Vista โดยระบบจะยังคงเก็บรักษาไฟร์ข้อมูล โปรแกรม และค่ากำหนดต่างๆที่เคยใช้งานอยู่ เดิมเอาไว้ เช่น การปรับแต่งหน้าตาเดสก์ท็อป Favorites และอื่นๆ
Custom (advanced) ติดตั้งแบบกำหนดค่าต่างๆเองหรือติดตั้ง Windows แบบใหม่หมดลงบนฮาร์ดดิสใม่หรือพาร์ติชั่นที่ไม่มีระบบปฎิบัติการใดๆอยู่ ดังนั้นข้อมูลต่างๆบนพาร์ติชั่นที่ใช่ลง windows จะถูกลบทิ้งหมดในที่นี้คลิกเลือก Custom (advanced) ติดตั้งแบบกำหนดต่างๆเอง หรือติดตั้ง windows ใหม่
7.ในหน้าต่างถัดมา คลิกเมนู Drive options (advanced) เพื่อเรียกใช่เครื่องมือต่างๆสำหรับช่วยในการจัดเตรียมความพร้อมของฮาร์ดดิสก์และอื่นๆที่ windows ให้มานด้วย
8. ในกรณีฮาร์ดดิสก์ใหม่ที่ใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ใหม่ที่ยังไม่ได้ แบ่งหรือฟอร์แมตพาร์ติเอาไว้ หรือพาร์ติชั่นต่างถูกลบทิ้งจนหมด จะปรากฏข้อความ Disk 0 Unallocated space ซึ่งหมายถึง เป็นพื้นที่ว่างที่ยังไม่ได้ถูกจัดสรรหรือนำไปใช้ ดังนั้นให้เราคลิกเลือกพื้นที่ว่างดังกล่าวแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการสร้าง หรือแบ่ง พาร์ชั่น โดยในนี้สมมติว่าฮาร์ดดิสก์ขนาน 80 GB แล้วต้องการแบ่งพื้นที่ออกเป็น3 พาร์ติชั่น คือ ไดรว์ C,D และ E ขนาด 40,และ 20 GB ตามลำดับ ดังนั้นเริ่มต้นเราคลิกเมนู New
9.จะปรากฏช่อง Size สำหรับให้เรากำหนดขนาดพื้นที่ของพาร์ติชั่นใหม่จะถูกสร้างขึ้นในหน่วย MB(1000 MB= 1GBโดยประมาณ) ในที่นี้กำหนดให้พาร์ติชั่น 1หรือไดรว์ C มีขนาด 40GB ดังนั้น ในช่อง Size กำหนด 40000 จากนั้นคลิกปุ่ม Apply (รอสักครู่)
10. ให้เราคลิกเลือกพื้นที่ว่างที่เหลือ จากนั้นคลิกเมนู New
11. กำหมดขนาดพื้นที่ของพาร์ติชั่นถัดมา คือพาร์ติชั่น 2 หรือไดรว์ D มีขนาด 20 GB ดังนั้นในช่อง Size กำหนดเป็น 20000 จากนั้นคลิกปุ่ม Apply (รอสักครู่) ส่วนพาร์ติชั่น สุดท้ายที่เหลือก็ให้ดำเนินการแบบเดียวกานกันนี้ เพียงแต่ไม่ต้องกำหนด ขนาดของพื้นที่โดยสามารถใช้พื้นที่ว่างที่เหลือทั้งหมด นั้นได้ทันที
12. ให้ฟอร์แมตทุกๆพาร์ชั่นที่ถูกสร้างขึ้น โดยคลิกเลือกพาร์ติชั่นที่ต้องการแล้วคลิกเมนู format
13. จะปรากฏหน้าต่างถามเพื่อยืนยัยการฟอร์แมต (ข้อมูลต่างในพาร์ติชั่นที่เลือกจะถูกลบทิ้งไปหมด)
ให้เราคลิกปุ่ม OK (รอสักครู่) จากนั้นใช้วีธีการเดียวกันนี้ฟอร์แมตทุกพาร์ติชั่นที่เหลือ
14. เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการจัดเตรียมฮาร์ดดิส (การแบ่งและการฟอร์แมตพาร์ติชั่น) แล้วให้เราเลือกพาร์ติชั่นที่จะใช่การติดตั้ง Window (ในการที่นี้เลือกไดรว์ C หรือฮัตโนมัติ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น